วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคทางด้าน remote sensing มี resolution 4 แบบ

1.Spatial Resolution

-ระยะทางที่ใกล้ที่สุดที่จะสามารถมองเห็น หรือแยกความแตกต่างระหว่างวัตถุ 2 อย่าง บนภาพข้อมูลใด ๆ

2.Spectral Resolution

- จำนวน band และความกว้างของ band ที่ดาวเทียมดวงนั้นสามารถรับข้อมูลได้

3.Temporal Resolution

- ก็คือความถี่ในการเก็บข้อมูล ณ ตำแหน่งเดียวกันบนพื้นผิวโลก เช่น ดาวเทียมโคจรรอบโลก และจะกลับมายังพื้นที่เดิมภายใน 16 วัน ก็คือเราสามารถติดตามพื้นที่นี้ได้ ทุก ๆ 16 วัน

4.Radiometric Resolution

- ความสามารถของ Sensor ในการรับสัญญาณที่สะท้อนมาจากพื้นผิวโลก
ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ มีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน ก่อนและหลังจากการบันทึกข้อมูลของ sensor
ระบบการบันทึกข้อมูลของ sensor แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน

RGB

RGB (red, green and blue) อ้างถึงระบบ สำหรับนำเสนอสีที่ใช้บนจอภาพคอมพิวเตอร์ red, green และ blue สามารถรวมในสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อทำให้เป็นสีต่างๆ ภายในช่วงที่มองเห็นระดับของ R, G และ B มีช่วงตั้งแต่ 0 ถึง 100 เปอร์เซนต ์ของความหนาแน่นเต็มที่ แต่ละระดับแสดง โดยช่วงของเลขฐานสิบจาก 0 ถึง 255 (256 ระดับของแต่ละสี ) เทียบเท่ากับช่วงของเลขฐานสองจาก 00000000 ถึง 11111111 หรือ เลขฐานหก 00 ถึง FF จำนวนสีที่มีให้ทั้งหมดคือ 256*256*256 หรือ 16,777,216 สี

ในภาษา Hypertext Markup Language (HTML) จำนวนค่าของ RGB ได้แนะนำการใช้โดยพิจารณาให้ลด ประการแรก โดยข้อเท็จจริงภาพส่วนมากสามารถใช้สีได้ 256 สี เพื่อที่จะทำให้สีที่มีอยู่เป็นจริงบน browser ทั้ง 2 ประเภท ให้เลือกใช้ร่วมกัน 216 สี สีอื่นนอกจากนี้ให้ทำการแปลงเป็นสีใกล้เคียง



ActiveX and ActiveX control

ActiveX เป็นชื่อที่ Microsoft ตั้งให้กับกลุ่มของเทคโนโลยี object - oriented programming และเครื่องมือหลักของเทคโนโลยีนี้ คือ Component Object Model (COM) เมื่อใช้ในระบบเครือข่ายด้วยไดเรคทอรี และการสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ COM เปลี่ยนมาเป็น Distributed Component Object Model (DCOM) ซึ่งสำคัญในการสร้าง เมื่อเขียนโปรแกรมใช้สภาพแวดล้อมของ ActiveX คือ component ซึ่งโปรแกรมจะเพียงพอในตัวเอง ซึ่งสามารถเรียกใช้ในทุก ๆที่ ของเครือข่าย ActiveX (โดยเป็นเครือข่ายของระบบ windows และ Macintosh) โดย component รู้จักในชื่อของ ActiveX control นอกจากนี้ ActiveX เป็นคำตอบของ Microsoft ต่อ เทคโนโลยี Java จาก Sun Microsystems และ ActiveX control สามารถเปรียบเทียบโดยคร่าว ๆ ได้กับ Java appletในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows จะสังเกตเห็นไฟล์ใน windows ที่มีสกุล "OCX" ซึ่ง OCX ใช้สำหรับ Object linking and embedding control โดย Object linking and Embedding (OLE) เป็นเทคโนโลยีของ Microsoft ที่ใช้กับระบบเอกสารแบบ compound document เช่น window desktop นอกจากนี้ Component Object Model ได้เป็นส่วนของ OLEในฐานะเป็นส่วนที่อยู่ในแนวคิดที่กว้างกว่า Microsoft ใช้ศัพท์ ActiveX control " แทนที่ OCX สำหรับอ๊อบเจคแบบ componentความได้เปรียบประการหนึ่ง ของ component คือ สามารถใช้ใหม่ได้โดยโปรแกรมประยุกต์ (ด้วยการอ้างอิง component แบบ container ) ส่วนอ๊อบเจค COM (ActiveX control) สามารถสร้างได้หลายภาษา หรือ เครื่องมือพัฒนา เช่น C++, Visual Basic หรือ Power Builder หรือคำสั่งสคริปต์ VBScriptปัจจุบัน ActiveX control สามารถใช้กับ Windows 95/98/NT และ Macintosh ซึ่ง Microsoft มีแผนในพัฒนา ActiveX control สำหรับ UNIX



ActiveX control เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี ActiveX ของ Microsoft ActiveX control เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมอ๊อบเจคที่สามารถใช้ซ้ำ (reused) ได้จากโปรแกรมประยุกต์ภายในคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย เทคโนโลยีสำหรับการสร้าง ActiveX control เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี ActiveX ของ Microsoft โดยส่วนสำคัญ คือ Component Object Model (COM) การทำงานของ ActiveX control สามารถ ดาวน์โหลด เป็นโปรแกรมเล็ก หรือภาพเคลื่อนไหวสำหรับเว็บเพจ และสามารถใช้สำหรับงานพื้นฐานทั่วไป โดยโปรแกรมประยุกต์ในสภาพแวดล้อมของ Windows รุ่นล่าสุด หรือ Macintosh โดยทั่วไป ActiveX control ได้แทนที่ OCX (Object Linking and Embedding Custom controls) นอกจากนี้ ActiveX control สามารถเทียบเคียงอย่างคร่าว ๆ ในแนวคิดและการใช้กับ Java applet

http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_desc.php?term_id=ActiveX&term_group=A

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ลักษณะของข้อมูลที่รับเข้าสู่ระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์

การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของข้อมูลที่รับเข้าสู่ระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog Compurter) คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถรับข้อมูลประเภทที่เป็นหน่วยวัดแบบต่อเนื่องที่ได้มาจากเครื่องมือวัดประเทภต่าง ๆ เช่น ความดังของเสียง ความเร็วของรถยนต์ ความกดอากาศ อุณหภูมิ ข้อมูลที่ได้จากการวัดแบบต่อเนื่องนี้ เรียกว่า ข้อมูลแบบอนาลอก อนาลอกคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดประเภทต่าง ๆเช่น คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์ คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ควบคุมความเร็ว คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

2. ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถรับข้อมูลประเภทที่เป็นหน่วยนับซึ่งสามารถจำแนกได้ เช่น ตัวเลขทางด้านธุรกิจ การเงิน ภาษี รายรับรายจ่ายต่าง ๆ เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการนับนี้เรียกว่า ข้อมูลแบบดิจิตอล (Digital) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้แก่เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับข้อมูลและประมวลผลเป็นระบบจำนวนเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 นั่นเอง

3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Compurter) คือ คอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติรับข้อมูลที่เป็นทั้งแบบดิจิตอลและอนาลอก เข้าสู่ระบบการประมวลผลได้ โดยนำคุณสมบัติที่ดีของคอมพิวเตอร์ทั้งสองแบบมาสร้างเป็นไฮบริดคอมพิวเตอร์

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/samutprakan/kritpa-on/computer/sec03page03.html

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Raster Data

ข้อมูลที่มีโครงสร้างเป็นช่องเหลี่ยม เรียกว่า จุดภาพ หรือ Grid cell เรียงต่อเนื่องกันในแนวราบและแนวดิ่ง ในแต่ละจุดภาพสามารถเก็บค่าได้ 1 ค่า ความสามารถแสดงรายละเอียดของข้อมูลขึ้นอยู่กับขนาดของเซลล์ ณ จุดพิกัดที่ประกอบขึ้นเป็นฐานข้อมูลแสดงตำแหน่งชุดนั้น ค่าที่เก็บในแต่ละจุดภาพสามารถเป็นได้ทั้งข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ หรือรหัสที่ใช้อ้างอิงถึงข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลก็ได้ Raster Data อาจแปรรูปมาจากข้อมูล Vector หรือแปรจาก Raster ไปเป็น Vector หรือแปรจาก Raster ไปเป็น Vector แต่เห็นได้ว่าจะมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นระหว่างการแปรรูปข้อมูล





จุดเด่นของข้อมูลแบบ Raster คือ
-มีโครงสร้างข้อมูลง่าย ๆ มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ทำให้การประมวลผลในระดับจุดภาพมีความสะดวก
-การวางซ้อนและการรวมข้อมูลแผนที่กับข้อมูลที่รับรู้จากระยะไกลทำได้ง่าย
-การทดสอบด้วยการจำลองสถานการณ์ทำได้ง่าย เพราะหน่วยพื้นที่แต่ละหน่วยมีรูปร่างและขนาดเท่ากัน
-นอกจากนี้ข้อมูลแบบ Raster ยังมีความเหมาะสมกับการแทนลักษณะของพื้นผิว (Surface) ที่มีความต่อเนื่องกัน

จุดด้อยของข้อมูลแบบ Raster คือ
-ข้อมูลกราฟิกมีขนาดใหญ่ ไฟล์มีขนาดใหญ่จึงใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก
-การใช้ช่องกริดใหญ่เพื่อลดปริมาตรข้อมูลทำให้สูญเสียโครงสร้างข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์และเป็นการสูญเสียข้อสนเทศอย่างมาก
-ไม่เหมาะสมในการแทนข้อมูลที่เป็นเส้นโค้ง หรือแทนตำแหน่งของจุดเพราะต้องใช้ 1จุดภาพสำหรับตำแหน่ง 1 ตำแหน่ง
-แผนที่แรสเตอร์ที่หยาบจะไม่สวยเท่าแผนที่ซึ่งเขียนด้วยเส้น
-การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทำได้ยาก

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Vector Data

ข้อมูลแสดงทิศทาง (Vector Data) คือข้อมูลที่แสดงด้วย จุด เส้น หรือพื้นที่ ที่ประกอบด้วยจุดพิกัดทางแนวราบ (X , Y) และ/หรือ แนวดิ่ง (Z) หรือ Cartesian Coordinate System ถ้าเป็นพิกัดตำแหน่งเดียวก็จะเป็นค่าของจุด ถ้าจุดพิกัดสองจุดหรือมากกว่าจะเป็นค่าของเส้น ส่วนพื้นที่นั้นจะต้องมีจุดมากกว่า 3 จุดขึ้นไป และจุดพิกัดเริ่มต้นและจุดพิกัดสุดท้ายจะต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกัน เช่น ถนน แม่น้ำ ขอบเขตการปกครอง

รูปแบบเวกเตอร์
1.Point Features
เป็นตำแหน่งพิกัดที่ไม่มีขนาดและทิศทาง จะใช้แสดงข้อมูลที่เป็นลักษณะของ ตำแหน่ง

2.Linear Features
มีระยะและทิศทางระหว่างจุดเริ่มต้น ไปยังจุดแนวทาง (Vector) และจุดสิ้นสุด ประกอบไปด้วยลักษณะของเส้นตรง เส้นหักมุม และเส้นโค้ง เช่น ถนน ทางด่วน

3.Polygon Features
มีระยะและทิศทางระหว่างจุดเริ่มต้น จุดแนวทาง (Vector) และจุดสิ้นสุด ที่ประกอบกันเป็นรูปหลายเหลี่ยมมีขนาดพื้นที่ (Area) และเส้นรอบรูป (Perimeter)

จุดเด่นของข้อมูลแบบ Vector
-แสดงโครงสร้างข้อมูลเชิงปรากฏการณ์ได้ดี ยังเหมาะสำหรับใช้แทนลักษณะของพื้นที่จึงมีขอบเขตคดโค้งทำให้สามารถแบ่งขอบเขตของพื้นที่ได้อย่างชัดเจน
-โครงสร้างข้อมูลกะทัดรัด ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็กจึงใช้พื้นที่สำหรับการจัดเก็บน้อย
-ความเชื่อมโยงทางโทโปโลยีสามารถทำได้ครบถ้วนด้วยการเชื่อมโยงแบบเครือข่าย
-มีความถูกต้องในเชิงกราฟฟิก ซึ่งสามารถแทนข้อมูลได้อย่างมีความแม่นยำเชิงตำแหน่ง
-สามารถทำการค้นคืน การแก้ไข และการวางนัยทั่วไปกับข้อมูลกราฟฟิกและลักษณะประจำได้

จุดด้อยของข้อมูลแบบ Vector
-โครงสร้างข้อมูลซับซ้อน
-การรวมแผนที่แบบเวกเตอร์หลาย ๆ แผ่นหรือรวมแผนที่ Vector กับ Raster ด้วยวิธีวางซ้อนมีความยุ่งยาก
-การทดสอบด้วยการจำลองสถานการณ์ทำได้ยาก เพราะแต่ละหน่วยของแผนที่มีโครงสร้างที่ต่างกัน

Raster Graphics

Raster Graphics
- เป็นภาพดิจิตอลที่สร้างเป็นกลุ่มของตัวอย่าง สำหรับที่ว่างที่มีให้ raster เป็นตารางของพิกัด x และ y บนพื้นที่จอภาพ (ถ้าเป็นภาพ 3 มิติ ต้องเพิ่มพิกัด z) ไฟล์ภาพ raster ระบุพิกัดเหล่านี้ ไปที่ความสว่างใน Monochrome หรือค่าสี ไฟล์ raster บางครั้งอ้างถึงในฐานะ bitmap เพราะเก็บสารสนเทศที่จับคู่โดยตรง กับตารางจอภาพไฟล์ raster มักจะใหญ่กว่าไฟล์ vector graphics และมักจะลำบากในการปรับปรุง โดยปราศจากการสูญเสียสารสนเทศ ถึงแม้ว่าเครื่องมือซอฟต์แวร ์สามารถแปลงไฟล์ raster ให้เป็นไฟล์ vector ตัวอย่างไฟล์ภาพ rastor ได้แก่ BMP, TIFF, GIF และ JPEG