วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Student Table




1.ใส่หัวข้อข้อมูลลงแล้วกำหนด key หลัก1ตัว






2.ใส่ข้อมูลต่างๆลงไปตามหัวข้อที่กำหนดมา

ปฏิบัติการที่ 6 SQL ข้อ o



SELECT Student.Studentid,Student.Name,Register.Score,Register.Grade,Subject.NameFROM Register,Student,Subject WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) AND(Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND Register.Subjectid = 104111);
แสดงฟิลด์ รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จาก การลงทะเบียน ตารางนักเรียน รายวิชา
โดยมีเงื่อนไขคือแสดงเฉพาะรหัสวิชา 104111

ปฏิบัติการที่ 6 SQL ข้อ k

**SELECT Subject , Name ,Credit
FROM Subject WHERE Subject = 104111;

ปฏบัติการที่ 6 SQL ข้อที่ i



**SELECT Subjectid , Name , Credit , Book , Teacher
FROM Subject;

ปฎิบัติการที่ 6 SQL ข้อ j


** SELECT Subject , Name , Credit , Book
FROM Subject

ปฏิบัติการที่ 6 SQL ข้อ h

**SELECT Studentid,Name,Advisor,Class,Hobby
FROM Student WHERE Class = 2 AND Hobby LIKE'อ่านหนังสือ'



ปฏิบัติการที่ 6 SQL ข้อ p





SELECT Student.Studentid,Student.Name,Register.score,Register.Grade,Subject.Name,Student.ClubFROM Register,Student,Subject WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) AND(Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND Register.Subjectid = 104111 AND Club LIKE 'ภูมิศาสตร์')

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) คือ ฐานข้อมูลที่ได้รับการใช้มากที่สุด โดยขึ้นกับพื้นฐานทางทฤษฎีที่เข้มแข็ง ด้านพีชคณิตเชิงสัมพันธ์ ไม่มีความจำเป็นในการทำความเข้าใจทางทฤษฎีความสัมพันธ์ในการใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ แต่จำเป็นต้องเข้าใจแนวคิดฐานข้อมูลพื้นฐานบางประการสัมพันธ์ ฐานข้อมูลแบบนี้แสดง การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของตาราง ที่มีลักษณะเป็นสองมิติ คือ แถว (Row) และคอลัมน์ (Column) ซึ่งในการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลในตาราง 2 ตาราง หรือมากกว่า จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ที่มีอยู่ในตารางที่ต้องการเชื่อมโยงข้อมูลกัน โดยที่แอททริบิวต์จะแสดงคุณสมบัติของรีเลชั่นต่าง ๆ ซึ่งรีเลชั่นต่าง ๆ ได้ผ่านกระบวนการทำรีเลชั่นให้เป็นบรรทัดฐาน (Normalized) ในระหว่าง การออกแบบเพื่อละความซ้ำซ้อน เพื่อให้การจัดการฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) มีลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ลักษณะคือ


1. ลักษณะทางโครงสร้าง ผู้ใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้ จะรับรู้ในลักษณะที่ว่าข้อมูลในฐานข้อมูล จะอยู่ในรูปตารางต่างๆ

2. ลักษณะความถูกต้องของตารางต่างๆ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเรื่องความถูกต้องของข้อมูล

3. ลักษณะด้านจัดดำเนินการ ต้องมีตัวดำเนินการต่างๆ เตรียมไว้ให้แก่ผู้ใช้ในการสั่งกระทำการใดๆ กับตารางข้อมูล โดยจะมีตัวดำเนินการสำคัญ อยู่ 3 ตัว ได้แก่


1.1 Restrict Operation เป็นการดึงแถวข้อมูลเฉพาะบางแถวออกมาจากตาราง
1.2 Project Operation เป็นการดึงคอลัมน์ข้อมูลเฉพาะบางคอลัมน์ออกมาจากตาราง

1.3 Join Operation เป็นการเชื่อมตารางตั้งแต่ 2 ตารางขึ้นไปเข้าด้วยกันโดยมีค่าบางค่าในคอลัมน์ตรงกันเป็นหลัก


รีเลชั่น (Relation) คือ คำเรียกตาราง ในเชิงคณิตศาสตร์ ระบบเชิงสัมพันธ์อาศัยตัวแบบเชิงสัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีข้อมูลแนวนามธรรม (Abstract theory of data) ตามหลักการของคณิตศาสตร์ผู้ที่ว่างรากฐานของตัวแบบสัมพันธ์ (1969-1970) คือ E.F. Codd ปัจจุบันแนวคิดของเขาเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล มีอิทธิพลต่อเทคโนโลยีฐานข้อมูล, ปัญญาประดิษฐ์, การประมวลผลภาษาธรรมชาติ และการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์อีกด้วยเรลวาร์ (Relvar) ย่อมาจาก Relation Variables ซึ่งก็คือโครงสร้างของตารางนั่นเอง โดยคำว่า Variables หมายถึง ชื่อเขตข้อมูลหรือแอตทริบิวต์ (Attribute) ส่วนค่าหรือข้อมูลที่อยู่ในตารางแต่ละช่องนั้นเรียกว่า Relation Values




ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่มีรูปแบบง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์หรือผู้จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น

ข้อดีที่ผู้ใช้ทั่วไปรู้สึกว่าฐานข้อมูลชนิดนี้เข้าใจง่าย มีดังนี้

1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นกลุ่มของรีเลชั่นหรือตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้เห็นภาพของข้อมูลได้ง่าย

2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร รวมถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูล (Access Approach)

3. ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษและไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน 4. การเรียกใช้หรือเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่ายโดยใช้โอเปอร์เรเตอร์ ทางคณิตศาสตร์ เช่น SELECT ไม่จำเป็นต้องมีตัวชี้ (Pionter) ซึ่งยุ่งยาก

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Data Model Working 2

ฐานข้อมูลแบบเชิงวัตถุ(Object-Oriented Model)

แบบจำลอง ODM อาศัยแนวคิดว่าข้อมูลเป็นออพเจ็กต์เหมือนออพเจ็กต์ในวิชา OOP (การเขียนโปรแกรมวัตถุวิธี) แบบจำลอง ODM แบบจำลอง ODM มีโครงสร้างสามมิติ (ขณะที่ RDM เป็นโครงสร้างสองมิติ คือประกอบด้วยแอตทริบิวต์และทูเพิล) ทำให้การดึงข้อมูลจากตำแหน่งใดๆ เป็นไปได้รวดเร็วมาก

มีข้อดีคือการทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า RDMข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ ODM คือเหมาะใช้พัฒนาแอพลิเกชันที่ซับซ้อนมากๆ เพราะวัตถุหรือออพเจ็กต์สามารถสืบคุณสมบัติกันได้ ทำให้สามารถพัฒนาออพเจ็กต์ที่ซับซ้อนอย่างยิ่งได้จากออพเจ็กต์ที่ไม่ซับซ้อนหลายๆ ตัวหรือหลายๆ ระดับชั้น

แต่มีข้อเสียคือหากดึงข้อมูลปริมาณมากจะทำได้ช้ากว่า RDM แบบจำลอง ODM มีคุณสมบัติบางอย่างที่เหนือกว่า RDM อาทิ ไม่ต้องมีชนิดข้อมูลและไม่ต้องมีตารางแสดงความสัมพันธ์ เรียนรู้ได้ยากและผนวกกับภาษา OOP มาตรฐานอย่าง C# ไม่ได้ http://bi-thai.spaces.live.com/blog/cns!799FD8063FC81068!289.entry

ฐานข้อมูลแบบวัตถุ-สัมพันธ์(Object-Relational Model)

เป็นแนวความคิดที่จะผสมผสานความสามารถ ความเร็ว และความเชื่อถือได้ของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ที่ใช้งานมายาวนาน เข้ากับฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-Oriented) ที่สามารถจัดเก็บและบริหารข้อมูลที่ซับซ้อนได้ ซึ่งจะนำอินฟอร์มิกส์ยูนิเวอร์แซลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสนับสนุนแนวความคิดของฐานข้อมูลเชิงวัตถุสัมพันธ์มาใช้ในการจัดสร้างและพัฒนา ข้อดี ปรับแต่งให้รองรับผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก ปรับแต่งให้ทำงานกับแถวที่มีข้อมูลมาก ๆ ได้ดี ปรับปรุงตัวออปติไมเซอร์

http://webserv.kmitl.ac.th/~komson/files/computer_42.doc

Data Model Working 1


ฐานข้อมุลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Model)

มีโครงสร้างเหมือนต้นไม้กลับหัว คือรากอยู่บนสุดแล้วลำต้นแตกกิ่งก้านลงไปข้างล่าง ตารางที่อยู่บนคือตารางแม่ (parent table) ตารางที่มีลำดับต่ำกว่าคือตารางลูก (child table)
HDM มีความสัมพันธ์เป็นแบบ "หนึ่งต่อหลาย" (one to many) เพราะตารางแม่หนึ่งตารางอาจมีตารางลูกได้หลายตาราง และในขณะเดียวกันตารางลูกใดๆ อาจมีตารางลูกลงไปอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มันมีฐานะเป็นตารางแม่ด้วยเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน ตารางแม่ใดๆ อาจมีตารางแม่อยู่เหนือตัวมันอีก ทำให้มันมีฐานะเป็นตารางลูกด้วยเช่นกัน ข้อดี- ลักษณะโครงสร้างเข้าใจง่าย - เหมาะสำหรับงานที่ต้องการค้นหาข้อมูลแบบมีเงื่อนไขเป็นระดับและออกงานแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
- ป้องกันระบบความลับของข้อมูลได้ดี ข้อเสีย-คือการค้นหาข้อมูลทำได้ช้าเพราะต้องไล่ไปตามลำดับชั้น
ฐานข้อมุลแบบเครือข่าย(Network Model)
คำว่าเครือข่ายในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่หมายถึงตารางต่างๆ ถูกนำมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้ตารางลูกมีตารางแม่ได้มากกว่าหนึ่งตาราง (ต่างจาก HDM ที่ตารางลูกมีตารางแม่ได้ได้เพียงตารางเดียว) NDM จึงมีความสัมพันธ์เป็นแบบ "หลายต่อหลาย" (many to many)
-ข้อดี เหมาะสำหรับงานที่แฟ้มข้อมูลมีความสัมพันธ์แบบเครือข่าย
การค้นหาข้อมูลมีเงื่อนไขได้มากและกว้างกว่าโครงสร้างแบบ
ข้อเสีย ป้องกันความลับของข้อมูลได้ยาก คล้ายคลึงกันมากกับ HDM จึงมีข้อดีข้อเสียใกล้เคียงกัน

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สิ่งสำคัญ 5 สิ่งด้านเชิงความคิดเชิงพื้นที่

1.Spatial Distribution = การกระจายในเชิงพื้นที่
- การที่พื้นที่ใด ณ พื้นที่หนึ่งที่มีทรัพยากรแล้วมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเป็นบริเวณกว้างในรูปแบบการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในพื้นที่นั้น

2.Spatial Differentiation = ความแตกต่างในเชิงพื้นที่
-ในพื้นที่แต่ละพื้นที่หนึ่งจะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพไม่เหมือนกันและพื้นที่นั้นยังมีทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นที่

3.Spatial Diffusion = การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่
-พื้นที่หนึ่งที่มีการกระจายตัวทางทรัพยากรหรือการเผยแพร่วัฒนธรรมไปสู่บริเวณพื้นที่อื่น

4.Spatial Interaction = การปฎิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่
-พื้นที่ที่มีการกระทำ โต้ตอบหรือทำกิจกรรมระหว่างกันในบริเวณพื้นที่เดียวกันหรือต่างพื้นที่กัน

5.Spatial Temporary = ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่
-พื้นแต่ละพื้นที่มีช่วงเวลาที่แตกต่างกันช่วงเวลาจะเป็นตัวกำหนดให้พื้นที่มีการกระทำหรือทำกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของแต่ละพื้นที่

**บทความนี้คิดและเขียนขึ้นตามความเข้าใจตัวผมเองหากข้อมูลที่เขียนเพี้ยนจากความเป็นจริงก็ขออภัย

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System (GIS) คือ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการบริหารจัดการ ข้อมูล ข่าวสาร และยังเป็นระบบของการให้คำตอบเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย ซึ่งใช้เทคโนโลยีระบบพิกัดภูมิศาสตร์เพื่อดำเนิการในขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การเรียบเรียงข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการนำเสนอผลการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยมีภูมิศาสตร์เป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวสารต่างๆ


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
1.คอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูลเอกสารต่างๆ
2.โปรแกรม เป็นส่วนที่จะนำมาใช้ในการจัดการข้อมูลทางภูมิศาสตร์กายภาพ เช่น รูปแปลงที่ดิน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ
3.ข้อมูล ข้อมูลถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และระบบงานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ข้อมูลที่นำมาใช้นั้นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันต่อเหตุการณ์
4.บุคลากร ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทุกขั้นตอนของระบบสารสนเทศ
5.กระบวนการ กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ทุกขั้นตอนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน หากฐานข้อมูลขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้ขั้นตอนอื่นๆ ผิดพลาดไปด้วย
http://www.thailocaladmin.go.th/upload/callcenter/type1/2550/3/call1173842061640.doc

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อมูลกับสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบที่มีจำนวนมาก เป็นข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเรียบเพื่อใช้งานต่อไป สารสนเทศ หมายถึง ผลลัพธ์ที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลแล้ว เพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของผู้ใช้ ผลลัพธ์หรือ output นี้เรียกว่า สารสนเทศ (information) ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลในระดับต่อไป เช่น เป็นการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม สังเคราะห์ ประเมิน รวมทั้งปรับปรุงตามที่ผู้ใช้ต้องการ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล http://csbsrud1031.blogspot.com/2008/06/blo

ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศในความหมายของผู้ใช้ ข้อมูลและสารสนเทศของแต่ละคน ย่อมมีความหมายและการรับรู้ต่อข้อมูล และสารสนเทศแตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างเช่น
-พนักงานขาย ถือว่าใบสั่งซื้อของเขา เป็นสารสนเทศ เพราะเขาจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับสารสนเทศนี้

-ผู้จัดการฝ่ายขาย ใบสั่งซื้อถือว่าเป็นข้อมูลเท่านั้น เพราะไม่สามารถใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนการขายได้ แต่ถ้านำใบสั่งซื้อมาประมวลผลเพื่อออกเป็นรายงาน ปริมาณยอดขายสินค้าต่อสัปดาห์ จึงจัดว่าเป็นสารสนเทศของเขาได้
-พนักงานบัญชี ใบสั่งซื้อ ถือว่าเป็น ข้อมูล เท่านั้น จนกว่าจะนำใบสั่งซื้อดำเนินการจนกระทั่งเก็บเงินจากลูกค้าได้ และนำข้อมูลมาทำการลงบัญชีต่อไป จึงจะจัดว่าเป็นสารสนเทศของพนักงานบัญชีได้
-พนักงานอื่น ๆ เช่น นักวิจัย วิศวกร ถือว่าใบสั่งซื้อเป็นเพียงข้อมูลอย่างหนึ่งที่เขาไม่ต้องสนใจ หรือเกี่ยวข้องเลยก็ได้
http://www.lcc.ac.th/WEB_T/noi/Templates/Untitled-333.htm

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์



ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล หรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง ๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไป
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data) และสารสนเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการและการวางแผนที่ซับซ้อน ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล

การจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ก็หมายความว่า "ระบบหรือโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่จัดเก็บ จัดการ บริหารฐานข้อมูลโดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรงและแสดงผลออกมาเชิงลักษณะ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการและการวางแผนที่"