วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) คือ ฐานข้อมูลที่ได้รับการใช้มากที่สุด โดยขึ้นกับพื้นฐานทางทฤษฎีที่เข้มแข็ง ด้านพีชคณิตเชิงสัมพันธ์ ไม่มีความจำเป็นในการทำความเข้าใจทางทฤษฎีความสัมพันธ์ในการใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ แต่จำเป็นต้องเข้าใจแนวคิดฐานข้อมูลพื้นฐานบางประการสัมพันธ์ ฐานข้อมูลแบบนี้แสดง การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของตาราง ที่มีลักษณะเป็นสองมิติ คือ แถว (Row) และคอลัมน์ (Column) ซึ่งในการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลในตาราง 2 ตาราง หรือมากกว่า จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ที่มีอยู่ในตารางที่ต้องการเชื่อมโยงข้อมูลกัน โดยที่แอททริบิวต์จะแสดงคุณสมบัติของรีเลชั่นต่าง ๆ ซึ่งรีเลชั่นต่าง ๆ ได้ผ่านกระบวนการทำรีเลชั่นให้เป็นบรรทัดฐาน (Normalized) ในระหว่าง การออกแบบเพื่อละความซ้ำซ้อน เพื่อให้การจัดการฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) มีลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ลักษณะคือ


1. ลักษณะทางโครงสร้าง ผู้ใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้ จะรับรู้ในลักษณะที่ว่าข้อมูลในฐานข้อมูล จะอยู่ในรูปตารางต่างๆ

2. ลักษณะความถูกต้องของตารางต่างๆ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเรื่องความถูกต้องของข้อมูล

3. ลักษณะด้านจัดดำเนินการ ต้องมีตัวดำเนินการต่างๆ เตรียมไว้ให้แก่ผู้ใช้ในการสั่งกระทำการใดๆ กับตารางข้อมูล โดยจะมีตัวดำเนินการสำคัญ อยู่ 3 ตัว ได้แก่


1.1 Restrict Operation เป็นการดึงแถวข้อมูลเฉพาะบางแถวออกมาจากตาราง
1.2 Project Operation เป็นการดึงคอลัมน์ข้อมูลเฉพาะบางคอลัมน์ออกมาจากตาราง

1.3 Join Operation เป็นการเชื่อมตารางตั้งแต่ 2 ตารางขึ้นไปเข้าด้วยกันโดยมีค่าบางค่าในคอลัมน์ตรงกันเป็นหลัก


รีเลชั่น (Relation) คือ คำเรียกตาราง ในเชิงคณิตศาสตร์ ระบบเชิงสัมพันธ์อาศัยตัวแบบเชิงสัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีข้อมูลแนวนามธรรม (Abstract theory of data) ตามหลักการของคณิตศาสตร์ผู้ที่ว่างรากฐานของตัวแบบสัมพันธ์ (1969-1970) คือ E.F. Codd ปัจจุบันแนวคิดของเขาเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล มีอิทธิพลต่อเทคโนโลยีฐานข้อมูล, ปัญญาประดิษฐ์, การประมวลผลภาษาธรรมชาติ และการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์อีกด้วยเรลวาร์ (Relvar) ย่อมาจาก Relation Variables ซึ่งก็คือโครงสร้างของตารางนั่นเอง โดยคำว่า Variables หมายถึง ชื่อเขตข้อมูลหรือแอตทริบิวต์ (Attribute) ส่วนค่าหรือข้อมูลที่อยู่ในตารางแต่ละช่องนั้นเรียกว่า Relation Values




ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่มีรูปแบบง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์หรือผู้จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น

ข้อดีที่ผู้ใช้ทั่วไปรู้สึกว่าฐานข้อมูลชนิดนี้เข้าใจง่าย มีดังนี้

1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นกลุ่มของรีเลชั่นหรือตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้เห็นภาพของข้อมูลได้ง่าย

2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร รวมถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูล (Access Approach)

3. ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษและไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน 4. การเรียกใช้หรือเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่ายโดยใช้โอเปอร์เรเตอร์ ทางคณิตศาสตร์ เช่น SELECT ไม่จำเป็นต้องมีตัวชี้ (Pionter) ซึ่งยุ่งยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น