วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Data Model Working 2

ฐานข้อมูลแบบเชิงวัตถุ(Object-Oriented Model)

แบบจำลอง ODM อาศัยแนวคิดว่าข้อมูลเป็นออพเจ็กต์เหมือนออพเจ็กต์ในวิชา OOP (การเขียนโปรแกรมวัตถุวิธี) แบบจำลอง ODM แบบจำลอง ODM มีโครงสร้างสามมิติ (ขณะที่ RDM เป็นโครงสร้างสองมิติ คือประกอบด้วยแอตทริบิวต์และทูเพิล) ทำให้การดึงข้อมูลจากตำแหน่งใดๆ เป็นไปได้รวดเร็วมาก

มีข้อดีคือการทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า RDMข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ ODM คือเหมาะใช้พัฒนาแอพลิเกชันที่ซับซ้อนมากๆ เพราะวัตถุหรือออพเจ็กต์สามารถสืบคุณสมบัติกันได้ ทำให้สามารถพัฒนาออพเจ็กต์ที่ซับซ้อนอย่างยิ่งได้จากออพเจ็กต์ที่ไม่ซับซ้อนหลายๆ ตัวหรือหลายๆ ระดับชั้น

แต่มีข้อเสียคือหากดึงข้อมูลปริมาณมากจะทำได้ช้ากว่า RDM แบบจำลอง ODM มีคุณสมบัติบางอย่างที่เหนือกว่า RDM อาทิ ไม่ต้องมีชนิดข้อมูลและไม่ต้องมีตารางแสดงความสัมพันธ์ เรียนรู้ได้ยากและผนวกกับภาษา OOP มาตรฐานอย่าง C# ไม่ได้ http://bi-thai.spaces.live.com/blog/cns!799FD8063FC81068!289.entry

ฐานข้อมูลแบบวัตถุ-สัมพันธ์(Object-Relational Model)

เป็นแนวความคิดที่จะผสมผสานความสามารถ ความเร็ว และความเชื่อถือได้ของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ที่ใช้งานมายาวนาน เข้ากับฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-Oriented) ที่สามารถจัดเก็บและบริหารข้อมูลที่ซับซ้อนได้ ซึ่งจะนำอินฟอร์มิกส์ยูนิเวอร์แซลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสนับสนุนแนวความคิดของฐานข้อมูลเชิงวัตถุสัมพันธ์มาใช้ในการจัดสร้างและพัฒนา ข้อดี ปรับแต่งให้รองรับผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก ปรับแต่งให้ทำงานกับแถวที่มีข้อมูลมาก ๆ ได้ดี ปรับปรุงตัวออปติไมเซอร์

http://webserv.kmitl.ac.th/~komson/files/computer_42.doc

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ

    การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ๆ จะมีลักษณะเป็น oop แล้วครับ ดังนั้นถ้าโครงสร้างฐานข้อมูลเป็นแบบ object หรือเป็น object-relational ก็จะใกล้เคียงกับรูปแบบการพัฒนามากขึ้นครับ

    ตอบลบ