1.2 Project Operation เป็นการดึงคอลัมน์ข้อมูลเฉพาะบางคอลัมน์ออกมาจากตาราง
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ระบบฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์
1.2 Project Operation เป็นการดึงคอลัมน์ข้อมูลเฉพาะบางคอลัมน์ออกมาจากตาราง
วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552
Data Model Working 2
แบบจำลอง ODM อาศัยแนวคิดว่าข้อมูลเป็นออพเจ็กต์เหมือนออพเจ็กต์ในวิชา OOP (การเขียนโปรแกรมวัตถุวิธี) แบบจำลอง ODM แบบจำลอง ODM มีโครงสร้างสามมิติ (ขณะที่ RDM เป็นโครงสร้างสองมิติ คือประกอบด้วยแอตทริบิวต์และทูเพิล) ทำให้การดึงข้อมูลจากตำแหน่งใดๆ เป็นไปได้รวดเร็วมาก
มีข้อดีคือการทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า RDMข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ ODM คือเหมาะใช้พัฒนาแอพลิเกชันที่ซับซ้อนมากๆ เพราะวัตถุหรือออพเจ็กต์สามารถสืบคุณสมบัติกันได้ ทำให้สามารถพัฒนาออพเจ็กต์ที่ซับซ้อนอย่างยิ่งได้จากออพเจ็กต์ที่ไม่ซับซ้อนหลายๆ ตัวหรือหลายๆ ระดับชั้น
แต่มีข้อเสียคือหากดึงข้อมูลปริมาณมากจะทำได้ช้ากว่า RDM แบบจำลอง ODM มีคุณสมบัติบางอย่างที่เหนือกว่า RDM อาทิ ไม่ต้องมีชนิดข้อมูลและไม่ต้องมีตารางแสดงความสัมพันธ์ เรียนรู้ได้ยากและผนวกกับภาษา OOP มาตรฐานอย่าง C# ไม่ได้ http://bi-thai.spaces.live.com/blog/cns!799FD8063FC81068!289.entry
ฐานข้อมูลแบบวัตถุ-สัมพันธ์(Object-Relational Model)
เป็นแนวความคิดที่จะผสมผสานความสามารถ ความเร็ว และความเชื่อถือได้ของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ที่ใช้งานมายาวนาน เข้ากับฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-Oriented) ที่สามารถจัดเก็บและบริหารข้อมูลที่ซับซ้อนได้ ซึ่งจะนำอินฟอร์มิกส์ยูนิเวอร์แซลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสนับสนุนแนวความคิดของฐานข้อมูลเชิงวัตถุสัมพันธ์มาใช้ในการจัดสร้างและพัฒนา ข้อดี ปรับแต่งให้รองรับผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก ปรับแต่งให้ทำงานกับแถวที่มีข้อมูลมาก ๆ ได้ดี ปรับปรุงตัวออปติไมเซอร์
Data Model Working 1
HDM มีความสัมพันธ์เป็นแบบ "หนึ่งต่อหลาย" (one to many) เพราะตารางแม่หนึ่งตารางอาจมีตารางลูกได้หลายตาราง และในขณะเดียวกันตารางลูกใดๆ อาจมีตารางลูกลงไปอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มันมีฐานะเป็นตารางแม่ด้วยเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน ตารางแม่ใดๆ อาจมีตารางแม่อยู่เหนือตัวมันอีก ทำให้มันมีฐานะเป็นตารางลูกด้วยเช่นกัน ข้อดี- ลักษณะโครงสร้างเข้าใจง่าย - เหมาะสำหรับงานที่ต้องการค้นหาข้อมูลแบบมีเงื่อนไขเป็นระดับและออกงานแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
- ป้องกันระบบความลับของข้อมูลได้ดี ข้อเสีย-คือการค้นหาข้อมูลทำได้ช้าเพราะต้องไล่ไปตามลำดับชั้น
การค้นหาข้อมูลมีเงื่อนไขได้มากและกว้างกว่าโครงสร้างแบบ
วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สิ่งสำคัญ 5 สิ่งด้านเชิงความคิดเชิงพื้นที่
- การที่พื้นที่ใด ณ พื้นที่หนึ่งที่มีทรัพยากรแล้วมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเป็นบริเวณกว้างในรูปแบบการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในพื้นที่นั้น
2.Spatial Differentiation = ความแตกต่างในเชิงพื้นที่
-ในพื้นที่แต่ละพื้นที่หนึ่งจะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพไม่เหมือนกันและพื้นที่นั้นยังมีทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นที่
3.Spatial Diffusion = การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่
-พื้นที่หนึ่งที่มีการกระจายตัวทางทรัพยากรหรือการเผยแพร่วัฒนธรรมไปสู่บริเวณพื้นที่อื่น
4.Spatial Interaction = การปฎิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่
-พื้นที่ที่มีการกระทำ โต้ตอบหรือทำกิจกรรมระหว่างกันในบริเวณพื้นที่เดียวกันหรือต่างพื้นที่กัน
5.Spatial Temporary = ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่
-พื้นแต่ละพื้นที่มีช่วงเวลาที่แตกต่างกันช่วงเวลาจะเป็นตัวกำหนดให้พื้นที่มีการกระทำหรือทำกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของแต่ละพื้นที่
**บทความนี้คิดและเขียนขึ้นตามความเข้าใจตัวผมเองหากข้อมูลที่เขียนเพี้ยนจากความเป็นจริงก็ขออภัย
วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สรุปความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
1.คอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูลเอกสารต่างๆ
2.โปรแกรม เป็นส่วนที่จะนำมาใช้ในการจัดการข้อมูลทางภูมิศาสตร์กายภาพ เช่น รูปแปลงที่ดิน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ
3.ข้อมูล ข้อมูลถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และระบบงานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ข้อมูลที่นำมาใช้นั้นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันต่อเหตุการณ์
4.บุคลากร ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทุกขั้นตอนของระบบสารสนเทศ
5.กระบวนการ กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ทุกขั้นตอนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน หากฐานข้อมูลขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้ขั้นตอนอื่นๆ ผิดพลาดไปด้วย
http://www.thailocaladmin.go.th/upload/callcenter/type1/2550/3/call1173842061640.doc
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ข้อมูลกับสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศในความหมายของผู้ใช้ ข้อมูลและสารสนเทศของแต่ละคน ย่อมมีความหมายและการรับรู้ต่อข้อมูล และสารสนเทศแตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างเช่น
-พนักงานขาย ถือว่าใบสั่งซื้อของเขา เป็นสารสนเทศ เพราะเขาจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับสารสนเทศนี้
-ผู้จัดการฝ่ายขาย ใบสั่งซื้อถือว่าเป็นข้อมูลเท่านั้น เพราะไม่สามารถใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนการขายได้ แต่ถ้านำใบสั่งซื้อมาประมวลผลเพื่อออกเป็นรายงาน ปริมาณยอดขายสินค้าต่อสัปดาห์ จึงจัดว่าเป็นสารสนเทศของเขาได้
-พนักงานบัญชี ใบสั่งซื้อ ถือว่าเป็น ข้อมูล เท่านั้น จนกว่าจะนำใบสั่งซื้อดำเนินการจนกระทั่งเก็บเงินจากลูกค้าได้ และนำข้อมูลมาทำการลงบัญชีต่อไป จึงจะจัดว่าเป็นสารสนเทศของพนักงานบัญชีได้
-พนักงานอื่น ๆ เช่น นักวิจัย วิศวกร ถือว่าใบสั่งซื้อเป็นเพียงข้อมูลอย่างหนึ่งที่เขาไม่ต้องสนใจ หรือเกี่ยวข้องเลยก็ได้
http://www.lcc.ac.th/WEB_T/noi/Templates/Untitled-333.htm